|
ปีการศึกษา
2543 2542 2541 2540 2539 2538 2537 2536 2535
(พ.ศ.2544
, ปีการศึกษา 2543)
ชื่อเรื่อง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อคาดการณ์ปริมาณแสงธรรมชาติโดยใช้ข้อมูลสภาพท้องฟ้า
ในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
COMPUTER PROGRAM FOR DAYLIGHT PREDICTION
USING TROPICAL SKY DATA
ชื่อผู้แต่ง กมล
เกียรติเรืองกมลา (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รศ.ดร.สุนทร
บุญญาธิการ
2. พิรัส เหล่าไพศาลศักดิ์
บทนำ
ในอดีตที่ผ่านมา
การคาดการณ์ปริมาณแสงธรรมชาติภายในอาคาร จะอาศัยการทดสอบจากหุ่นจำลอง
เป็นสำคัญ
ซึ่งมักจะสิ้นเปลืองเวลา และค่าใช้จ่ายในการทดสอบเป็นผลให้การประยุกต์ใช้แสงธรรมชาติ
ภายในอาคารไม่เป็นที่แพร่หลาย
งานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาเทคนิคในการคาดการณ์ปริมาณแสงธรรมชาติภายในอาคารและนำเทค
นิคดังกล่าวมาพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ที่สามารถใช้งานได้สะดวก สำหรับคาดการณ์ปริมาณ
แสงธรรมชาติภายในอาคาร
จากลักษณะของช่องเปิดด้านข้างอาคาร โดยผลที่ได้จากการคำนวณด้วยโปร
แกรม
จะแสดงถึงปริมาณ ความส่องสว่างบนระนาบนอนในตำแหน่งต่างๆที่ต้องการของอาคาร
พร้อม
พทั้งวิเคราะห์
การใช้ลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในเบื้องต้นจากการใช้แสงประดิษฐ์ เพื่อชดเชยแสงธรรมชาติ
ที่ไม่พอเพียงต่อการใช้งานภายในอาคาร
ขั้นตอนการศึกษาวิจัย
เริ่มจากการศึกษาถึง ข้อดี ข้อเสีย ของเทคนิคต่างๆสำหรับคาดการณ์ปริมาณแสง
ธรรมชาติภายในอาคาร
เพื่อหาวิธีการที่มีความแม่นยำในการคำนวณและสะดวกต่อการใช้งาน ผลจาก
การศึกษาสามารถกำหนดเทคนิคที่เหมาะสมได้
สองวิธี คือ วิธีลูเมนเมธทอด เป็นวิธีการที่ง่าย และมี
ความสะดวกในการคาดการณ์ปริมาณระดับความส่องสว่าง
เมื่อรูปทรงของอาคารมีลักษณะเป็นรูปทรง
อย่างง่าย
แต่วิธีการนี้จะให้ผลการคำนวณที่ขาดความแม่นยำ ส่วนอีกวิธี คือ
วิธีสกายแฟกเตอร์เมธทอด
เป็นวิธีการที่มีความยุ่งยากในการป้อนข้อมูลและความซับซ้อนในขั้นตอนการคำนวณ
แต่สามารถให้ผล
การคำนวณที่มีความแม่นยำมากกว่าซึ่งงานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้ทั้งสองวิธีในการคำนวณเพื่อให้ตรงตาม
ความต้องการ
ของการใช้งานมากที่สุด การทดสอบผลที่ได้ จากการคาดการณ์ปริมาณความส่องสว่าง
ที่
พอเพียงภายในอาคารจะเริ่มจากการใช้หุ่นจำลอง
เพื่อทดสอบแสงภายในอาคารจาก
แหล่งกำเนิดแสงภายในท้องฟ้าจำลอง โดยผลจากการคาดการณ์ปริมาณแสงธรรมชาติภายในอาคารด้วย
คอมพิวเตอร ์
และผลที่ได้จากการทดสอบปริมาณแสงธรรมชาติภายในอาคารด้วยหุ่นจำลองจะมีความ
สอดคล้องกัน
ซึ่งแสดงถึงความแม่นยำในการคำนวณ และ ความถูกต้องของผลทได้จากการคาดการณ์
ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลที่ได้จากการวิจัย
ควรจะมีการศึกษาเพิ่มเติม ในส่วนของ การคาดการณ์ปริมาณความส่องสว่างภายใน
ของรูปทรงอาคารในแบบแบบต่างๆ
เพื่อให้ทราบถึงเทคนิคที่มีความเหมาะสม ในการประยุกต์ใช้งาน
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้งานวิจัยนี้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ควรมีการศึกษาถึงปริมาณแสงสว่างของแหล่ง
กำเนิดแสงภายนอกอาคาร และนำมาใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณของโปรแกรม
เพื่อเพิ่มความแม่นยำใน
การคำนวณของโปรแกรมต่อไป
(พ.ศ.2544
, ปีการศึกษา 2543)
ชื่อเรื่อง
การใช้การไหลเวียนอากาศธรรมชาติกับงานสถาปัตยกรรม
THE UTILIZATION OF NATURAL AIR-FLOW FOR
ARCHITECTURE
ชื่อผู้แต่ง จตุวัฒน์
วโรดมพันธ์ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
รศ.
ดร.สุนทร บุญญาธิการ
บทนำ
การออกแบบงานสถาปัตยกรรมในประเทศไทยที่ไม่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เป็นเหตุ
ให้สูญเสียพลังงานในการปรับอากาศอย่างมหาศาล การใช้การไหลเวียนอากาศธรรมชาติ เป็นแนวทาง
หนึ่งที่ทำให้สภาพแวดล้อมภายในอาคารอยู่ในเขตสบายมากยิ่งขึ้น
ซึ่งทำให้ปริมาณการใช้ระบบปรับ
อากาศลดลง
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อค้นหา และศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเขตสบาย
ภายในอาคาร
โดยอาศัยการไหลเวียนอากาศธรรมชาติเป็นหลัก ผลลัพธ์ที่ได้คือแนวทางการใช้การไหล
เวียนอากาศที่เหมาสมกับงานสถาปัตยกรรมตัวแปรที่นำมาศึกษา คือ
มวลสาร ค่าการป้องกันความร้อน
ของวัสดุ
และช่วงเวลาการไหลเวียนอากาศกระบวนการวิจัยอาศัยการทดลอง จากเซลทดลองภายนอก
อาคารเป็นหลัก
วัสดุที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย วัสดุมวลสารน้อย(ไม้หนา12
มม.)มวลสารปานกลาง
(
คอนกรีต หนา 10 ซม.)
มวลสารมาก( คอนกรีต หนา 30 ซม.)
และระบบผนังที่มีฉนวนกันความร้อน
อยู่ภายนอกที่ใช้โฟมหนา
3 นิ้ว การวิจัยขั้นต้อนพบว่าการไหลเวียนอากาศจะส่งผลต่อพฤติกรรมการถ่าย
เทความร้อนของวัสดุร่วมกับมวลสาร
ต่อมาการทดลองจึงมุ่งเน้นในการศึกษาผลกระทบจากการปรับ
เปลี่ยนช่วงเวลาการไหลเวียนอากาศ
ซึ่งพบว่าการใช้การไหลเวียนอากาศกลางวันและกลางคืนจะทำให้
เซลทดลองมีพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร
ต่างๆจะพบว่าหากผสมผสานตัวแปรได้อย่างเหมาะสม จะสามารถทำให้อุณหภูมิอากาศภายในเซลทด
ลองต่ำกว่าภายนอกได้ประมาณ10C จากการทดลองจะพบว่าระบบผนังที่มีฉนวนอยู่ภายนอกผสมผสาน
กับการมีมวลสารภายในเซลทดลองประมาณ
300 กก./ตร.ม.และใช้การไหลเวียนอากาศเวลากลางคืน
จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการลดอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยภายในเซลทดลอง
ผลการวิจัยสรุปได้ว่าอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยภายในเซลทดลองสามารถต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยภายนอก
ได้
ซึ่งนับเป็นการค้นพบที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยภายในเซลทด
ลองจะสูงกว่าอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยภายนอกตลอดเวลา
สภาวะดังกล่าวจะเกิดจากการใช้ ระบบผนังที่มี
ฉนวนอยู่ภายนอกผสมผสานกับการ ใส่มวลสารไว้ภายในประมาณ
300 กก./ตร.ม. ผลที่ได้รับจากการ
วิจัยจะเกิดประโยชน์สูงสุดหากสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบอาคารด้วยระบบธรรมชาติ ใน
อนาคต
(พ.ศ.2544
, ปีการศึกษา 2543)
ชื่อเรื่อง
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อเขตสบายของโบสถ์ไทย
Environmental Factors Affecting Comfort Zone
of Thai Temple
ชื่อผู้แต่ง ชญาณิน
จิตรานุเคราะห์
(สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ทีปรึกษา
1. อาจารย์ ดร.
วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์,
2. อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม : ศาสตราจารย์
3.
ม.ร.ว. แน่งน้อย ศักดิ์ศรี
บทนำ
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมเป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่สามารถนำความ
เย็นจากภายนอกอาคารมาใช้ประโยชน์ให้ภายในอาคารเข้าใกล้เขตสบายมากที่สุดการ
ศึกษาถึงสภาพภูมิอากาศและสภาพบริเวณที่ตั้ง เพื่อหาตัวแปรสำคัญทางสภาพแวดล้อม
และการเปรียบเทียบถึงความแตกต่างของสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อเขตสบายของ
โบสถ์ไทยจะนำมาซึ่งการประยุกต์หรือปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อไปการวิจัย
นี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองร่วมกับการวิจัยเชิงสำรวจ โดยตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเป็น
การเลือกกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ คือ เลือกจากวัดในกรุงเทพมหานครที่ก่อสร้าง
ในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยมีความแตกต่างทางสภาพแวดล้อมภายนอกโบสถ์ในเขตพุทธา
วาสจำนวน 3 วัดได้แก่ วัดราชาธิวาสวิหารซึ่งมีภูมิสถาปัตยกรรมที่มีพื้นผิวอ่อนและความ
หนาแน่นของต้นไม้ระดับสูงในปริมาณมาก วัดกำแพงซึ่งมีภูมิสถาปัตยกรรมที่มีพื้นผิว
อ่อนและความหนาแน่นของต้นไม้ระดับสูงในปริมาณปานกลาง และวัดราษฎร์บูรณะที่ไม่
มีภูมิสถาปัตยกรรมที่มีพื้นผิวอ่อน วิธีการวิจัยทำโดยการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง
ๆ ของอุณ
หภูมิอากาศความชื้นสัมพัทธ์ พื้นที่ให้ร่มเงา อุณหภูมิผิวของภูมิสถาปัตยกรรมที่มีพื้นผิว
อ่อนและภูมิสถาปัตยกรรมที่มีพื้นผิวแข็ง ในบริเวณภายในและภายนอกโบสถ์แต่ละแห่ง
รวมทั้งการวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงผลกระทบต่อเขตสบายของโบสถ์ไทยทั้ง3แห่งในวัน
เวลาเดียวกัน ผลการวิจัยพบว่าร่มเงาจากต้นไม้ระดับสูงที่อยู่รอบโบสถ์ไทยจะทำให้บริ
เวณภายในและภายนอกโบสถ์เข้าสู่เขตสบายในเชิงอุณหภูมิได้ อีกทั้งภูมิสถาปัตยกรรม
ที่มีพื้นผิวอ่อนมีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน โดยมีตัวแปรจากความสูงของต้น
ไม้ความหนาแน่นของพุ่มใบระยะห่างของต้นไม้กับพื้นที่โดยรอบ และปริมาณของภูมิ
สถาปัตยกรรมพื้นผิวอ่อนต่อปริมาณภูมิสถาปัตยกรรมพื้นผิวแข็งและอาคารเป็นต้นถึง
แม้ว่าสภาพแวดล้อมภายนอกไม่มีผลกระทบมากนักต่ออุณหภูมิภายในโบสถ์ที่มีมวลสาร
สูงแต่ต้นไม้ในระดับสูงจะช่วยลดความแตกต่างของอุณหภูมิภายนอกและทำให้สภาพ
แวดล้อมเย็นลง
(พ.ศ.2544
, ปีการศึกษา 2543)
ชื่อเรื่อง
เทคนิคการออกแบบและการเลือกวัสดุหลังคา
เพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำค้าง
A roof design and material selection for
utilization of roof condensation
ชื่อผู้แต่ง ณฐิยา
ทองมี
(สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อ.
ที่ปรึกษา ศ. ดร. สุนทร บุญญาธิการ
บทนำ
การสังเกตปรากฏการณ์ของการเกิดน้ำค้างตามธรรมชาติพบว่าน้ำค้างจะเกิดขึ้นก็ต่อ
เมื่อไอน้ำในอากาศกระทบกับพื้นผิววัสดุ ที่มีอุณหภูมิผิวต่ำกว่าอุณหภูมิจุดน้ำค้างอุณ
หภูมิผิวที่ต่ำนี้เป็นผลจากการคายรังสีความร้อนกลับสู่ท้องฟ้าซึ่งเป็นแหล่งความเย็น
ขนาดใหญ่ในช่วงเวลากลางคืนปรากฏการณ์การเกิดน้ำค้างนี้แสดงให้เห็นว่าทรัพยากร
น้ำมีอยู่รอบตัวเราปริมาณน้ำค้างที่เกิดขึ้นในแต่ละคืนจะมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับภูมิ
ภาคที่ขาดแคลนน้ำของประเทศไทย ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงกำหนดบทบาทใหม่ในการ
ออกแบบหลังคาเพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำค้าง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยที่มี
ผลต่อการเกิดน้ำค้างสำหรับภูมิอากาศเขตร้อนชื้นของประเทศไทยขั้นตอนการวิจัยประ
กอบด้วย
1) การทดสอบตัวแปรที่มีผลต่อการเกิดน้ำค้าง
2) การทดลองหาแนวทางการออกแบบและเลือกวัสดุเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำค้างให้แก่หลัง
คาโดยมีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ วัสดุหลังคา มุมเอียงหลังคาที่เหมาะสมกับการ
เกิดการไหลของปริมาณน้ำค้าง ทิศทางการวางหลังคาและรูปแบบการติดตั้งหลังคา
3)การวิเคราะห์หาเทคนิคแนวทางเพื่อประยุกต์ใช้น้ำค้างและความเย็นแก่อาคารสำหรับ
ภูมิอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย
ผลการวิจัยพบว่าในช่วงเวลากลางคืน
ผิวหลังคาจะมีการคายรังสีความร้อนกลับสู่ท้องฟ้า
จนมีอุณหภูมิผิวต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศและอุณหภูมิจุดน้ำค้างตามลำดับการลดลงของ
อุณหภูมิผิวนี้จะมีความแตกต่างตามวัสดุหลังคาที่ต่างกัน วัสดุหลังคาที่ทำจากอลูมิเนียม
อะโนไดซ์ มีปริมาณน้ำค้างที่เกิดขึ้นมากที่สุดเนื่องจากมีอุณหภูมิผิวต่ำกว่าอุณหภูมิจุด
น้ำค้างมากที่สุด การเอียงหลังคาทำมุม 15 องศากับแนวระนาบของวัสดุอลูมิเนียมอะ
โนไดซ์จะมีความสมดุลระหว่างการเกิดและการไหลของปริมาณน้ำค้าง การวางหลังคา
ในทิศทางตรงข้ามกับลมที่พัดผ่านผิวหลังคาในช่วงเวลากลางคืนจะมีปริมาณน้ำค้างที่
เกิดขึ้นมากกว่าการวางในทิศทางที่รับลมโดยตรง เนื่องจากได้รับอิทธิพลความร้อนจาก
ลมที่พัดผ่านผิวน้อยกว่าการวางในทิศทางที่รับลมโดยตรงรูปแบบหลังคาที่มีการติดตั้ง
ฉนวนกันความร้อนใต้แผ่นหลังคาสามารถเพิ่มปริมาณน้ำค้างได้เนื่องจากสามารถลด
อิทธิพลการนำความร้อนใด้แผ่นหลังคา ผลจากการวิเคราะห์พบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อ
การเกิดปริมาณน้ำค้างในเบื้องต้นได้แก่ สภาพท้องฟ้า ค่าการคายรังสีของหลังคา
ค่ามุม
ที่เปิดสู่ท้องฟ้าของหลังคาความชื้นในอากาศ และอุณหภูมิอากาศ
การวิจัยนี้สรุปได้ว่า
ในการออกแบบหลังคาเพื่อให้เกิดปริมาณน้ำค้างต่อพื้นที่ต่อคืนมาก
ที่สุดคือการทำให้ผิวหลังคามีอุณหภูมิผิวต่ำที่สุด โดยมีเทคนิคการออกแบบหลังคาและ
เลือกใช้วัสดุดังนี้
1)
เลือกใช้วัสดุเคลือบผิวหลังคาที่มีค่าการคายรังสีมากกว่า 0.90 ค่าการคายรังสีนี้จะ
พิจารณาในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ 3 ไมครอนขึ้นไป โดยเฉพาะช่วงความยาวคลื่น
8-13ไมครอน เนื่องจากวัสดุสามารถคายรังสีความร้อนกลับสู่ท้องฟ้าได้ดีที่สุด
2) เลือกใช้วัสดุเคลือบผิวหลังคาที่มีสภาพผิวเป็นมันเรียบเพื่อลดการยึดเกาะของปริ
มาณน้ำค้างที่ไหลลงสู่ภาชนะกักเก็บ
3) เลือกใช้วัสดุหลังคาที่มีมวลสารน้อยเพื่อความรวดเร็วในการคายความร้อนกลับสู่ท้อง
ฟ้า
4) เลือกมุมเอียงหลังคาให้มีมุมที่เปิดสู่ท้องฟ้ามากที่สุด โดยเน้นความสมดุลระหว่าง
การเกิดและการไหลของปริมาณน้ำค้างที่เกิดขึ้น
5) การวางหลังคาในทิศทางที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากลมที่พัดผ่านผิวหลังคาโดยตรง
6) การป้องกันความร้อนจากใต้แผ่นหลังคา ผลการวัดปริมาณน้ำค้างที่เกิดขึ้นในเขต
กรุงเทพมหานครสรุปได้ว่า ปริมาณน้ำค้างที่เกิดขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ140ซีซีต่อตาราง
เมตรต่อคืน และมีปริมาณน้ำค้างที่เกิดขึ้นมากที่สุดประมาณ 340 ซีซีต่อตารางเมตรใน
ช่วงเดือนพฤศจิกายน
(พ.ศ.2544
, ปีการศึกษา 2543)
ชื่อเรื่อง
พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนของผนังอาคารที่มีมวลสารมาก
THERMAL BEHAVIOR OF HIGH MASS BUILDING WALL
ชื่อผู้แต่ง ณัฐกานต์
เกษประทุม (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
อาจารย์ ดร. วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์
2. อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ศาสตราจารย์.ม.ร.ว. แน่งน้อย ศักดิ์ศรี
บทนำ
การวิจัยเรื่องพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนของผนังอาคารที่มีมวลสารมากมีจุดประ
สงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าการหน่วงเหนี่ยวความร้อนและระดับความสำคัญที่
มาจากปัจจัยดังกล่าวเพื่อหาแนวทางการประยุกต์ใช้ผนังมวลสารมากในอาคารให้เกิด
ความเหมาะสม
ปัจจัยที่นำมาศึกษาได้แก่ค่าความจุความร้อนและอุณหภูมิพื้นผิวผนัง การทดลองแบ่ง
เป็น2 ขั้นตอนคือ การทดลองจากกล่องทดลอง และการทดลอง ณ สถานที่จริง การเก็บ
ข้อมูลประกอบด้วย
(1) สภาวะไม่ปรับอากาศ ทดลองผนังคอนกรีตหนา 10, 20 และ 30 ซม. ผิวภายนอกได้
รับและไม่ได้รับรังสีความร้อนโดยตรง ผิวภายนอกทาสีดำและสีขาว
(2) สภาวะปรับอากาศ ทดลองผนังคอนกรีตหนา 10, 20 และ 30 ซม.ในช่วงเวลา
8.00
-18.00 น., 20.00-6.00 น. และ ปรับอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ในการทดลอง ณสถาน
ที่จริง ทดลองผนัง 2 ด้านได้แก่ ด้านทิศใต้ผิวภายนอกได้รับรังสีความร้อนโดยตรงและ
ด้านทิศเหนือผิวภายนอกไม่ได้รับรังสีความร้อนโดยตรงผลการทดลองพบว่า
(1) อิทธิพลค่าความจุความร้อนมีผลต่อค่าการหน่วงเหนี่ยวความร้อนนั่นคือผนังคอน
กรีตที่มีความหนามากจะมีค่าความจุความร้อนมากทำให้มีค่าการหน่วงเหนี่ยวความ
ร้อนมาก ผนังคอนกรีตหนา30ซม.จะมีช่วงเวลาหน่วงเหนี่ยวความร้อนสูงกว่าผนังคอน
กรีตหนา 20และ 10 ซม.เท่ากับ 1 และ 2.5 ชั่วโมง
(2) อิทธิพลอุณหภูมิผิวผนังมีผลต่อการหน่วงเหนี่ยวความร้อน ผนังที่ผิวภายนอกไม่ได้
รับรังสีความร้อนโดยตรงจะมีอุณหภูมิภายในเฉลี่ยต่ำกว่าผนังที่ได้รับรังสีโดยตรงเท่า
กับ 0.6 -1.8 องศาเซลเซียส และผนังที่ทาสีขาวจะมีอุณหภูมิภายในเฉลี่ยต่ำกว่าชุด
ผนังทาสีดำเท่ากับ 3-4 องศาเซลเซียสการทดลองณสถานที่จริงพบว่าอิทธ์พลดังกล่าว
ไม่มีผลต่อการหน่วงเหนี่ยวความร้อนถ้าผนังมีความหนามากขึ้นโดยในช่วงเวลากลาง
วันที่อุณหภูมิอากาศภายนอกสูงสุดผนังด้านทิศใต้ซึ่งได้รับรังสีความร้อนโดยตรงจะมี
อุณหภูมิผิวผนังภายนอกสูงกว่าผนังด้านเหนือซึ่งไม่ได้รับรังสีโดยตรงเท่ากับ
3.04
องศาเซลเซียส แต่จะมีอุณหภูมิผิวภายในเฉลี่ยต่างกันไม่เกิน 0.5 องศาเซลเซียส
(3) การทดลองในสภาวะปรับอากาศ ผนังคอนกรีตหนา 30 ซม.จะใช้พลังงานในการลด
ความร้อนที่ถ่ายเทผ่านผนังน้อยกว่าผนังคอนกรีตหนา20และ10ซม.เท่ากับ8และ10.7
บีทียูชั่วโมงต่อวันนั่นคือผนังที่มีความหนามากจะมีปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทผ่านผนัง
น้อยกว่าผนังที่มีความหนาน้อยกว่า การเปิดเครื่องปรับอากาศตลอด 24 ชั่วโมงใช้พลัง
งานน้อยกว่าการปรับอากาศในช่วงเวลา 8.00-18.00 น.และ 20.00-6.00 น.เท่ากับ
0.3-0.5 บีทียูชั่วโมง นั่นคือความร้อนที่สะสมในผนังช่วงไม่ปรับอากาศทำให้เครื่อง
ปรับอากาศใช ้พลังงานสูงขึ้นเพื่อควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงที่ต้องการ
(4) ผนังมวลสารมากเหมาะสมกับการใช้งานในช่วงเวลากลางวัน ผนังภายนอกไม่ได้รับ
รังสีความร้อนโดยตรงหรือทาสีขาวจะมีอุณหภูมิภายในเฉลี่ยช่วงเวลากลางวันเท่ากับ
30-32 องศาเซลเซียส ซึ่งต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศภายนอก 0.5-2.7องศาเซลเซียส
ผนัง
มวลสารมาก ไม่เหมาะสมกับการใช้งานในช่วงเวลากลางคืน เนื่องจากผลการทดลองมี
อุณหภูมิภายในเฉลี่ยสูงกว่าอุณหภูมิอากาศภายนอก 3.7-8.3 องศาเซลเซียสผลการ
วิจัยสรุปว่า
(1) อาคารไม่ปรับอากาศและใช้งานในช่วงเวลากลางวันเหมาะสมกับการใช้ผนังมวล
สารมากที่มีความหนามาก เพื่อเพิ่มค่าการหน่วงเหนี่ยวความร้อน ทำให้อุณหภูมิภายใน
ต่ำกว่าภายนอกในช่วงเวลากลางวัน แม้อุณหภูมิภายในจะไม่อยู่ในเขตสบายแต่สามารถ
ใช้การพัดพาของอากาศเพื่อปรับอุณหภูมิให้เข้าสู่เขตสบายได้
(2) อาคารไม่ปรับอากาศที่มีการใช้งานในช่วงเวลากลางคืนหรือการใช้งานตลอดทั้งวัน
ไม่เหมาะสมกับการใช้ผนังมวลสารมาก เนื่องจากจะมีอุณหภูมิภายในสูงกว่าภายนอก
ในช่วงเวลากลางคืน
(3) อาคารที่ปรับอากาศไม่ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เหมาะสมกับการใช้ผนังมวลสารมาก
เนื่องจากเครื่องปรับอากาศจะใช้พลังงานในการลดความร้อนสะสมในผนังเป็นปริมาณ
มากเพื่อจะควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงที่ต้องการ
(พ.ศ.2544
, ปีการศึกษา 2543)
ชื่อเรื่อง
อิทธิพลของการหน่วงเหนี่ยวความร้อนจากการผสมมวลสารและฉนวนเข้าด้วยกัน
THE EFFECTS OF HEAT TRANSFER DUE TO THE COMBINATION
OF
MASS AND INSULATION
ชื่อผู้แต่ง
นายรุ่งโรจน์ วงศ์มหาศิริ
อ.
ที่ปรึกษา
1. อาจารย์
ดร.วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์,
2. ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ
บทนำ
พฤติกรรมการหน่วงเหนี่ยวความร้อนซึ่งเกิดจากค่าความจุความร้อนของมวลสาร
สา
มารถช่วยชลอปริมาณความร้อนจากภายนอกที่ผ่านเข้าสู่ภายในอาคารปริมาณความ
ร้อนที่ลดลงมีส่วนช่วยให้อุณหภูมิอากาศภายในเข้าใกล้สภาวะน่าสบายจากการศึกษา
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องพบว่าเมื่อนำวัสดุฉนวนประกอบกับการใช้มวลสารที่มีค่าความจุความ
ร้อนสูงระยะเวลาในการหน่วงเหนี่ยวความร้อนจะเพิ่มมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุ
ประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อการหน่วงเหนี่ยวความร้อนจากการเลือกตำแหน่งมวล
สารและฉนวน ในการทดสอบจะมีทั้งในสภาพไม่ปรับอากาศและสภาพปรับอากาศ
จากนั้นจึงนำผลที่ได้รับมาวิเคราะห์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบอาคารจริง
การวิจัยแบ่งออกเป็น
3ขั้นตอนได้แก่การศึกษาเพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการจัด
วางฉนวนและมวลสารที่เหมาะสมในลำดับถัดมาคือการทดสอบพฤติกรรมการหน่วง
เหนี่ยวความร้อนจากการใช้งานในสภาวะไม่ปรับอากาศและปรับอากาศ ในขั้นตอนสุด
ท้ายคือการทดสอบตัวแปรจากอิทธิพลภายนอกที่ส่งผลต่อการหน่วงเหนี่ยวความร้อนใน
การศึกษาเพื่อหาตำแหน่งฉนวนและมวลสารที่เหมาะสมได้ใช้ฉนวนโฟมโพลีสไตรีน
ความหนา 1 นิ้ว ติดตั้งกับมวลสารคอนกรีตความหนา 4 นิ้ว 2 ชุด การติดตั้งฉนวนได้
ทำการติดตั้งฉนวนด้านนอกแผ่นคอนกรีต กึ่งกลางแผ่นคอนกรีต และด้านในแผ่นคอน
กรีต จากการทดสอบพบว่าตำแหน่งของฉนวนและมวลสารที่เหมาะสม คือ การใช้วัสดุ
ฉนวนด้านนอกเพื่อลดอิทธิพลที่รุนแรงจากสภาพภูมิอากาศภายนอก และใช้วัสดุมวล
สารที่มีค่าความจุความร้อนสูงไว้ด้านในเพื่อหน่วงเหนี่ยวความร้อนที่ผ่านวัสดุฉนวนเข้า
มา ผลของการวิจัยพบว่าวัสดุทดสอบชนิดนี้มีอุณหภูมิอากาศสูงสุดภายในเซลทดสอบต่ำ
กว่าอุณหภูมิอากาศภายนอกสูงสุดประมาณ 7 องศาเซลเซียสส่วนวัสดุทดสอบอีก2รูป
แบบคือวัสดุทดสอบที่มีฉนวนอยู่กึ่งกลางมวลสารและวัสดุทดสอบที่มีฉนวนอยู่ด้านใน
มวลสารมีอุณหภูมิอากาศสูงสุดภายในเซลทดสอบต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศภายนอกสูงสุด
ประมาณ6องศาเซลเซียสและ5องศาเซลเซียสตามลำดับผลการทดสอบการใช้งานใน
สภาพไม่ปรับอากาศและปรับอากาศพบว่าควรใช้การติดตั้งฉนวนภายนอกและใช้มวล
สารด้านในทั้งสองกรณีอย่างไรก็ตามมีข้อควรระวังในการเลือกใช้ปริมาณมวลสารภาย
ในสภาพปรับอากาศเนื่องจากมวลสารปริมาณมากทำให้สิ้นเปลืองพลังงานในการลด
ความร้อนสะสมภายในมวลสารเมื่อเริ่มเปิดเครื่องปรับอากาศ ผลการทดสอบตัวแปร
จากอิทธิพลภายนอกที่ส่งผลต่อการหน่วงเหนี่ยวความร้อนพบว่าการใช้วัสดุเคลือบผิวที่
มีค่าการดูดซับรังสีดวงอาทิตย์แตกต่างกันส่งผลให้มีความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศ
ภายในเซลทดสอบ วัสดุทดสอบที่เคลือบผิวด้วยสีดำส่งผลให้อุณหภูมิอากาศภายในสูง
กว่าวัสดุทดสอบชนิดเดียวกันที่เคลือบผิวด้วยสีขาวประมาณ1องศาเซลเซียสในทำนอง
เดียวกันกับการได้รับรังสีตรงจากดวงอาทิตย์จะส่งผลให้อุณหภูมิอากาศภายในเซลทด
สอบสูงกว่าชุดวัสดุที่มีการบังแดดให้กับผิวภายนอก ชุดวัสดุที่ไม่มีการบังแดดให้กับผิว
ภายนอกจะมีอุณหภูมิอากาศภายในสูงกว่าวัสดุทดสอบชนิดเดียวกันที่มีการบังแดด
ประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
การติดตั้งฉนวนภายนอกและใช้มวลสารภายในมีความเหมาะสม
ทั้งการใช้งานในสภาพไม่ปรับอากาศและปรับอากาศ อาคารที่ไม่ปรับอากาศควรใช้ผนัง
ที่มีการติดตั้งฉนวนภายนอกและใช้มวลสารปริมาณมากภายในอาคาร เพื่อให้อุณหภูมิ
อากาศภายในเข้าใกล้สภาวะน่าสบายในช่วงเวลากลางวัน อาคารที่มีการปรับอากาศ
ควรใช้การติดตั้งฉนวนภายนอกอาคารและใช้มวลสารปริมาณน้อยภายในอาคาร เพื่อให้
เครื่องปรับอากาศไม่สิ้นเปลืองพลังงานในการลดความร้อนสะสมในมวลสารเมื่อเริ่ม
เปิดเครื่องปรับอากาศ การใช้งานทั้งสองกรณีควรมีการบังแดดและใช้วัสดุเคลือบผิวที่
มีค่าการดูดซับความร้อนต่ำให้กับผนังภายนอกเพิ่มเติม
(พ.ศ.2544 ,
ปีการศึกษา 2543)
ชื่อเรื่อง
ผลกระทบของวัสดุตกแต่งภายในต่อการสะสมความร้อนและความชื้นภายในอาคาร
THE EFFECTS OF INTERIOR FINISHING MATERIALS
ON HEAT
AND MOISTURE ACCUMULATION IN BUILDING
ชื่อผู้แต่ง
วีรศักดิ์ ศลศิลป์ชัย (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อ.ที่ปรึกษา
1. รศ.ดร.
สุนทร บุญญาธิการ
2. อ.พิรัส เหล่าไพศาลศักดิ์
บทนำ
การใช้พลังงานภายในอาคารส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการทำงานของระบบปรับอากาศ
เพื่อปรับสภาวะภายในอาคารให้อยู่ในเขตสบาย ปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยน
แปลงของสภาวะภายในอาคารเกิดจากปริมาณความร้อนและความชื้นที่สะสมอยู่ใน
ส่วนต่างๆของอาคารวัสดุตกแต่งภายในทุกชนิดมีคุณสมบัติในการสะสมความร้อนและ
ความชื้น ด้วยเหตุนี้การเลือกใช้วัสดุตกแต่งภายในจึงมีผลต่อการเพิ่มหรือลดภาระการ
ทำความเย็นของระบบปรับอากาศ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการ
สะสมความร้อนและความชื้นของวัสดุตกแต่งภายในอาคาร ในสภาวะที่มีการควบคุม
อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ให้คงที่ ปริมาณความร้อนและความชื้นที่สะสมอยู่ในวัสดุ
ต่างๆภายในห้องจึงกลายเป็นภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศ โดยเฉพาะ
ในช่วงที่เริ่มเปิดระบบปรับอากาศ
กระบวนการวิจัยประกอบด้วย
การศึกษาและรวบรวมข้อมูลของวัสดุตกแต่งภายในอา
คารที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยรวบรวมตัวอย่างของวัสดุตกแต่งภายในมาทดสอบจำนวน
32 ชนิด โดยแยกเป็น 6 กลุ่มได้แก่ วัสดุประเภทพรม วัสดุประเภทผ้า วัสดุบุเฟอร์นิ
เจอร์ วัสดุประเภทวอลล์เปเปอร์ วัสดุโครงสร้างภายในและหนังสือขั้นตอนต่อมาคือการ
วิเคราะห์ความสามารถในการสะสมความร้อนและความชื้นของวัสดุแต่ละชนิดโดยการ
ทำให้วัสดุดูดซับความร้อนและความชื้นอย่างเต็มที่ด้วยการนำไปไว้ภายนอกห้องปรับ
อากาศ ในขณะเดียวกันทำการตรวจสอบน้ำหนักของวัสดุตัวอย่างแต่ละชนิดเพื่อประ
เมินค่าน้ำหนักของวัสดุภายใต้สภาวะภายนอกที่มีอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ค่อน
ข้างสูง ขั้นตอนต่อมาคือนำวัสดุเข้ามาไว้ภายในห้องปรับอากาศแล้วทำการวิเคราะห์หา
ปริมาณความชื้นที่ลดลงเนื่องจากการสูญเสียความชื้นภายในห้องปรับอากาศความแตก
ต่างระหว่างน้ำหนักที่อยู่ภายนอกเปรียบเทียบกับภายในห้องปรับอากาศก็คือความชื้นที่
สะสมอยู่ในวัสดุ ซึ่งจะกลายเป็นภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศที่เกิดจาก
การสะสมความชื้นของวัสดุนั้น
ผลจากการวิจัยพบว่า
พรมใยขนแกะ ซึ่งมีน้ำหนักของขนพรมเท่ากับ 2 ฝ ปอนด์ต่อตา
รางหลา มีความสามารถในการสะสมความร้อนและความชื้นสูงสุดเมื่อเทียบกับวัสดุทั้ง
หมด ซึ่งมีปริมาณความร้อนแฝงเท่ากับ 227.77 บีทียูต่อตารางเมตรและมีค่าปริมาณ
ความร้อนสัมผัสเท่ากับ 15.99 บีทียูต่อตารางเมตร คิดเป็นปริมาณความร้อนรวมเท่า
กับ 243.76 บีทียูต่อตารางเมตร ในขณะที่ผ้าลินินมีความสามารถในการสะสมความ
ร้อนและความชื้นต่ำสุดมีปริมาณความร้อนแฝงเท่ากับ12.25บีทียูต่อตารางเมตรและ
มีค่าปริมาณความร้อนสัมผัสเท่ากับ0.64บีทียูต่อตารางเมตรคิดเป็นปริมาณความร้อน
รวมเท่ากับ12.89บีทียูต่อตารางเมตรข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเป็นเพียงปริมาณความ
ร้อนที่ได้จากการทดลองแต่ในการออกแบบเพื่อกำหนดภาระการทำความเย็นของระบบ
ปรับอากาศต้องใช้ค่าอุณหภูมิสูงสุดซึ่งเป็นค่าที่กำหนดจากมาตรฐานการปรับอากาศ
(ASHRAE) จากการคำนวนพบว่าพรมใยขนแกะดังกล่าวมีปริมาณค่าความร้อนแฝง
เท่ากับ 283.72 บีทียูต่อตารางเมตรและมีค่าปริมาณความร้อนสัมผัสเท่ากับ
47.96
บีทียูต่อตารางเมตร คิดเป็นปริมาณความร้อนรวมเท่ากับ331.68 บีทียูต่อตารางเมตร
ส่วนผ้าลินินมีค่าปริมาณความร้อนแฝงเท่ากับ 15.26 บีทียูต่อตารางเมตรและมีค่าปริ
มาณความร้อนสัมผัสเท่ากับ 1.64 บีทียูต่อตารางเมตรคิดเป็นปริมาณความร้อนรวม
เท่ากับ 16.90 บีทียูต่อตารางเมตร ค่าสูงสุดที่ได้จากมาตรฐานการปรับอากาศ
(ASHRAE) เมื่อนำมาคำนวนเปรียบเทียบพื้นที่วัสดุต่อขนาดเครื่องปรับอากาศ
พบว่า
พื้นที่พรมใยขนแกะคิดเป็น 36.1 ตารางเมตร/ตัน.ชั่วโมง. ผ้าลินินคิดเป็นพื้นที่
710.1
ตารางเมตร/ตัน.ชั่วโมง. ผลการวิจัยแสดงว่าการสะสมความร้อนและความชื้นของวัสดุ
ตกแต่งภายในมีอิทธิพลอย่างรุนแรงต่อการทำงานของระบบปรับอากาศ ดังนั้นในการ
เลือกใช้วัสดุตกแต่งภายในจำเป็นต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติในการสะสมความร้อนและ
ความชื้นของวัสดุเพื่อลดภาระการปรับอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มต้นเปิดระบบ
ปรับอากาศ
(พ.ศ.2544 ,
ปีการศึกษา 2543)
ชื่อเรื่อง
อิทธิพลของการรั่วซึมของอากาศต่อการใช้พลังงานในอาคารปรับอากาศผ่าน
ทางผนังและช่องเปิด
THE
INFILTRATION EFEECTS ON ENERGY USAGE THROUGH WALL
AND WINDOWS IN AIR-CONDITIONED BUILDING
ชื่อผู้แต่ง
ศศิน วิบูลบัณฑิตยกิจ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อ.
ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์
ดร.สุนทร บุญญาธิการ
บทนำ
ในปัจจุบันอาคารที่ใช้การปรับอากาศเพื่อสร้างโซนสบายให้กับสภาพแวดล้อมในอาคาร
มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมากในการขจัดความร้อนและความชื้นอัน
เนื่องมาจากการรั่วซึมของอากาศ ในทางปฏิบัติยังไม่มีการวิจัยและคำนึงถึงผลของการ
รั่วซึมของอากาศต่อการใช้พลังงานในอาคารปรับอากาศในภูมิภาคแบบร้อนชื้น
ทั้งที่
การรั่วซึมของอากาศนั้นส่งผลต่อการใช้พลังงานในอาคารอย่างมาก การวิจัยนี้จึงมีวัตถุ
ประสงค์เพื่อพิจารณาแสวงหาว่าปัจจัยใดที่ก่อให้เกิดการรั่วซึมของอากาศ
และแสวงหา
ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ใช้ในการประเมินการสูญเสียพลังงานในการปรับอากาศจาก
การรั่วซึมของอากาศ ผลที่ได้จากการวิจัยนำไปใช้ในการประเมินการสูญเสียพลังงาน
จากการรั่วซึมของอากาศผ่านทางผนังและช่องเปิด
ช่องเปิดที่ใช้ในการทดลองประกอบไปด้วย
ช่องเปิดบานเกร็ด บานเปิด บานเลื่อนและ
บานติดตาย รวมไปถึงผนังก่ออิฐฉาบปูนหนา 0.10 เมตรเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบโดย
การหาความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วลมภายนอกกับอัตราการรั่วซึมของอากาศผ่านทาง
ผนังและช่องเปิด เมื่อสามารถหาความสัมพันธ์ดังกล่าวได้แล้ว จึงอาศัยการสร้างสมการ
ถดถอยแบบไม่เป็นเส้นตรงเพื่อการทำนายผลจากข้อมูลที่รวบรวมได้ จากนั้นจึงนำมา
ใช้ในการประเมินการรั่วซึมของอากาศตลอดทั้งปี จากข้อมูลภูมิอากาศโดยคำนึงถึง
ความร้อน ความชื้นและเอ็นทัลปีตลอดทั้งปี
ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า
การรั่วซึมของอากาศผ่านทางผนังและช่องเปิดนั้นมีปัจจัย
สำคัญ คือ ประเภทของช่องเปิดและความเร็วลมภายนอกที่มากระทำ โดยเมื่อเปรียบ
เทียบระหว่างช่องเปิดที่ทำการทดลองแล้วพบว่าช่องเปิดบานเกร็ดมีอัตราการรั่วซึมของ
อากาศสูงสุดต่อตารางเมตร คือ มีการสูญเสียพลังงานในการปรับอากาศเฉลี่ย
3390ตัน
ชั่วโมงต่อปีต่อตารางเมตร อันดับที่ 2 คือ ช่องเปิดบานเปิดโดยเฉลี่ยสูญเสีย
2138 ตัน
ชั่วโมงต่อปีต่อตารางเมตร อันดับที่ 3 คือ ช่องเปิดบานเลื่อนโดยเฉลี่ยสูญเสีย
192 ตัน
ชั่วโมงต่อปีต่อตารางเมตรและอันดับสุดท้าย คือ ช่องเปิดติดตายโดยเฉลี่ยสูญเสีย
178
ตันชั่วโมงต่อปีต่อตารางเมตร ในขณะที่ผนังก่ออิฐฉาบปูนมีการรั่วซึมของอากาศ
ส่งผล
ให้เกิดอัตราภาระการทำความเย็นโดยเฉลี่ยประมาณ1.0 ตันชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อปี
สำหรับอิทธิพลของทิศทางนั้นทิศใต้จะมีแนวโน้มการสูญเสียพลังงานมากที่สุดโดยเฉลี่ย
ในทุกช่องเปิดและผนังที่ทดลอง ทั้งนี้เนื่องจากทิศใต้มีแนวโน้มที่จะมีความเร็วลมภาย
นอกโดยเฉลี่ยสูงที่สุดและสม่ำเสมอตลอดทั้งปี จากผลการวิจัยนี้ทำให้สามารถนำข้อมูล
ที่ได้รับไปใช้ในการออกแบบ เป็นประโยชน์ในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมยุคใหม่เพื่อ
การประหยัดพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบเพื่อการลดการรั่วซึมของอากาศ
ผ่านทางผนังและช่องเปิดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
(พ.ศ.2544 ,
ปีการศึกษา 2543)
ชื่อเรื่อง
อิทธิพลของความชื้นที่แทรกซึมผ่านผนังทึบของอาคารปรับอากาศ
THE EFFECTS OF MOISTURE PENETRATION THROUGH
OPAQUE WALL IN AIR-CONDITIONED BUILDING
ชื่อผู้แต่ง
สุวิชา เบญจพร (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อ.ที่ปรึกษา
ศาสตราจารย์
ดร.สุนทร บุญญาธิการ
บทนำ
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้นซึ่งมีอุณหภูมิและปริมาณความชื้นโดยเฉลี่ย
สูงเกือบตลอดทั้งปี ดังนั้นการป้องกันความร้อนและความชื้นจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการ
พิจารณาเลือกวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้างผนังโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารปรับอา
กาศ เนื่องจากความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญต่อการใช้พลังงานในอาคารแต่อาคารส่วนใหญ่
มิได้คำนึงถึงความสำคัญของการป้องกันความชื้นจึงทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานเป็น
จำนวนมหาศาล วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกัน
ความชื้นที่แทรกซึมผ่านผนังทึบของอาคารที่มีการปรับอากาศ เริ่มจากการศึกษาปัจจัย
ที่มีผลต่อการแทรกซึมความชื้นด้วยวิธีจำลองสภาวะการใช้งานผนังอาคารที่ปรับอากาศ
ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเลือกผนังอาคารชนิดต่างๆที่นิยมใช้ก่อสร้างในปัจจุบัน
วัสดุที่
เลือกประกอบด้วย ผนังก่ออิฐฉาบปูนหนา 4 นิ้ว ผนังก่ออิฐฉาบปูน หนา 8
นิ้ว ผนังคอน
กรีตมวลเบา หนา 4 นิ้ว และผนังระบบฉนวนกันความร้อนภายนอกที่มีฉนวนหนา
3 นิ้ว
เพื่อแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันความชื้นที่แทรกซึมผ่านผนังอาคาร
ผลการศึกษาพฤติกรรมของความชื้นที่แทรกซึมผ่านผนังทดสอบทั้ง
4 ชนิด พบว่าผนัง
คอนกรีตมวลเบา หนา 4 นิ้วมีคุณสมบัติในการป้องกันความชื้นได้ต่ำที่สุด
เนื่องจากมี
มวลสารน้อยและมีความพรุนของมวลสารมากจึงทำให้ความชื้นสามารถแทรกซึมผ่าน
เข้ามาได้มาก โดยมีอัตราส่วนความชื้นที่ผิวภายในอาคารเฉลี่ย 15.74 g/kg
ส่วนผนัง
ระบบฉนวนกันความร้อนภายนอกมีคุณสมบัติในการป้องกันความชื้นได้ดีที่สุดเนื่องจาก
มีฉนวนป้องกันความชื้นติดตั้งด้านนอกอาคารจึงมีอัตราส่วนความชื้นที่ผิวภายในอาคาร
เฉลี่ย 10.16 g/kg นอกจากนี้พบว่าภายในผนังก่ออิฐฉาบปูน 8 นิ้วมีโอกาสเกิดการ
ควบแน่นสูงมากโดยอุณหภูมิภายในผนังสูงกว่าอุณหภูมิจุดน้ำค้างเฉลี่ยเพียง
0.3 องศา
เซลเซียส ส่วน การควบแน่นภายในผนังระบบฉนวนกันความร้อนภายนอกนั้นมีโอกาส
เกิดขึ้นน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับผนังทั้ง 4 ชนิดที่ทำการทดสอบโดยมีอุณหภูมิภายในผนัง
สูงกว่าอุณหภูมิจุดน้ำค้างเฉลี่ยถึงประมาณ 6.3 องศาเซลเซียส ในการศึกษาพฤติกรรม
ของความชื้นที่แทรกซึมผ่านผนังคอนกรีตมวลเบา หนา 4 นิ้ว กรณีที่ทาสีและไม่ทาสีที่
ผนังด้านนอกอาคารพบว่าการทาสีผนังด้านนอกสามารถลดการแทรกซึมของความชื้นที่
เข้ามาในอาคารได้ เนื่องจากคุณสมบัติของสีที่ใช้จะช่วยอุดช่องว่างบริเวณผิวผนังทำให้
ความชื้นแทรกซึมผ่านผนังเข้ามาในอาคารได้น้อยลงผลการทดสอบพบว่าที่ผิวภายใน
อาคารของผนังที่ทาสีด้านนอกจะมีปริมาณความชื้นโดยเฉลี่ยต่ำกว่าผนังที่ไม่ทาสีด้าน
นอกอาคารตลอดเวลาที่ทำการทดสอบ และในการวิเคราะห์แนวทางการป้องกันความ
ชื้นโดยการติดตั้งฉนวนกันความชื้นที่ผนังด้านนอกอาคารและด้านในอาคารนั้น
พบว่า
ผนังคอนกรีตมวลเบา หนา 4 นิ้วที่ติดตั้งฉนวนโฟม EPS หนา 1 นิ้ว ที่ด้านนอกอาคาร
สามารถป้องกันความชื้นได้ดีกว่าผนังที่ติดตั้งฉนวนชนิดเดียวกันที่ด้านในอาคาร
ผลการ
ทดสอบแสดงให้เห็นว่าปริมาณความชื้นที่ผิวภายในอาคารของผนังที่ติดตั้งฉนวนด้าน
นอกโดยเฉลี่ยต่ำกว่าผนังที่ติดตั้งฉนวนด้านในอาคาร ข้อสังเกตสำหรับการติดตั้งฉนวน
ป้องกันความชื้นที่ด้านในอาคาร คือ โอกาสเกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำที่บริเวณรอยต่อ
ระหว่างฉนวนกับผนังอาคาร
สรุปการทดสอบผนังทั้ง 4 ชนิดพบว่าผนังคอนกรีตมวลเบา หนา 4 นิ้วมีศักยภาพในการ
ป้องกันความร้อนและความชื้นต่ำที่สุด โดยมีปริมาณเอนทัลปิที่ผิวภายในอาคารเฉลี่ย
63.82 kJ/kg รองลงมาคือ ผนังก่ออิฐฉาบปูน หนา 4 นิ้วมีปริมาณเอนทัลปิที่ผิวภายใน
อาคารเฉลี่ย 60.39 kJ/kg รองลงมาคือ ผนังก่ออิฐฉาบปูน หนา 8 นิ้วมีปริมาณํเอนทัล
ปิที่ผิวภายในอาคารเฉลี่ย 59.99 kJ/kgผนังระบบฉนวนกันความร้อนภายนอกซึ่งมีศักย
ภาพในการป้องกันความร้อนและความชื้นดีที่สุดมีปริมาณเอนทัลปิที่ผิวภายในอาคาร
เฉลี่ย 50.12 kJ/kg สำหรับแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันความชื้น คือ
การติดตั้ง
ฉนวนด้านนอกอาคารเพราะนอกจากสามารถป้องกันความชื้นได้ดีกว่าการติดตั้งฉนวน
ด้านในอาคารแล้ว ยังลดโอกาสเกิดการควบแน่นบริเวณรอยต่อระหว่างผนังอาคารกับ
ฉนวนอีกด้วย
(พ.ศ.2544 ,
ปีการศึกษา 2543)
ชื่อเรื่อง
การศึกษาพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังวัสดุก่อ
ของอาคารพักอาศัยในเขตร้อนชื้น
THERMAL PERFORMANCE OF MASONRY
CONSTRUCTIONS FOR HOT HUMID CLIMATE
ชื่อผู้แต่ง
อุทัย ศุจิสกุลวงศ์ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อ.
ที่ปรึกษา
1.
ดร. วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์
2. อ.ที่ปรึกษาร่วม: ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ
บทนำ
ในปัจจุบัน
ลักษณะการก่อสร้างระบบผนังของอาคารพักอาศัยทั่วไปในเมืองไทย เป็นไป
ในรูปแบบของการก่อสร้างต่อเนื่องกันมาโดยที่ไม่ได้มีการพิจารณาถึงความเหมาะสม
ของรูปแบบและศักยภาพในการป้องกันความร้อนของวัสดุก่อนั้นๆ ส่งผลให้เครื่องปรับ
อากาศต้องทำงานอย่างหนักเพื่อขจัดความร้อนที่ผ่านเข้ามาจากผนังวัสดุก่อซึ่งเป็นการ
สิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็นดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงพฤติ
กรรมในการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังที่ใช้วัสดุก่อและศึกษาถึงตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อ
อุณหภูมิผิวผนังเพื่อที่จะนำไปพัฒนารูปแบบและความเหมาะสมของวัสดุก่อผนังสำหรับ
ภูมิอากาศในเมืองไทย งานวิจัยครั้งนี้จึงได้ทำเลือกผนังทดสอบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่
หลายได้แก่ผนังก่ออิฐ4นิ้วผนังก่ออิฐ8นิ้วผนังก่ออิฐ8นิ้วมีช่องอากาศผนังวัสดุก่อมวล
เบาและรวมถึงผนังที่เป็นระบบใหม่ได้แก่ผนังที่มีระบบฉนวนกันความร้อนภายนอกเพื่อ
เปรียบเทียบอุณหภูมิอากาศในเซลทดสอบในสภาวะที่แตกต่างกันทั้งในระบบปรับอา
กาศตลอดวันและไม่ปรับอากาศ ขั้นตอนในการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่
การศึกษาพฤติกรรมในการถ่ายเทความร้อนผ่านวัสดุก่อทั้งในกรณีปรับอากาศตลอดวัน
และในกรณีไม่ปรับอากาศ จากนั้นจึงเลือกวัสดุที่มีศักยภาพในการป้องกันความร้อนที่ดี
ที่สุด ได้แก่ ผนังก่ออิฐ 8 นิ้วมีช่องอากาศและผนังที่มีระบบฉนวนกันความร้อนภายนอก
มาศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิอากาศภายใน ได้แก่ การได้รับอิทธิพลจากการแผ่
รังสีดวงอาทิตย์โดยตรง และค่าการดูดซับความร้อนที่แตกต่างกันทั้งในกรณีปรับอากาศ
ตลอดวันและไม่ปรับอากาศ จากการศึกษาพบว่า ในกรณีไม่ปรับอากาศ ผนังก่ออิฐ
4 นิ้ว
และผนังวัสดุมวลเบามีศักยภาพในการป้องกันความร้อนน้อยที่สุดและมีค่าใกล้เคียงกัน
โดยมีค่าความแตกต่างอุณหภูมิอากาศภายในสูงสุดและต่ำสุดแตกต่างกันประมาณ
6
องศาเซลเซียสและสูงกว่าอุณหภูมิอากาศภายนอก 9 องศาเซลเซียส อุณหภูมิอากาศภาย
ในเฉลี่ยในช่วงมีการแผ่รังสีดวงอาทิตย์สูงกว่าอุณหภูมิอากาศประมาณ 2.5
องศาเซล
เซียส ส่วนผนังก่ออิฐ 8 นิ้วและผนังก่ออิฐ 8 นิ้วมีช่องอากาศมีค่าความแตกต่างอุณหภูมิ
อากาศภายในสูงสุดและต่ำสุดแตกต่างกันประมาณ 2 องศาเซลเซียสซึ่งคงที่และต่ำกว่า
ผนังสองชนิดแรก อุณหภูมิอากาศภายในเซลทดสอบเฉลี่ยในช่วงมีการแผ่รังสีดวงอา
ทิตย์ต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศ 0.5 องศาเซลเซียส ส่วนผนังที่มีการติดตั้งฉนวนกันความ
ร้อนภายนอกมีค่าความแตกต่างอุณหภูมิอากาศภายในสูงสุดและต่ำสุดคงที่และใกล้
เคียงกับผนังก่ออิฐ 8 นิ้ว อุณหภูมิเฉลี่ยภายในเซลทดสอบช่วงมีการแผ่รังสีดวงอาทิตย์
ต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศประมาณ 1 องศาเซลเซียส ส่วนในกรณีที่มีการปรับอากาศตลอด
วันพบว่าผนังที่มีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนภายนอกมีค่าความแตกต่างระหว่างผิวใน
และอุณหภูมิอากาศในห้องเฉลี่ยต่ำที่สุดประมาณ 1.43 องศาเซลเซียส ผนังวัสดุก่อมวล
เบามีค่าความแตกต่างระหว่างผิวในและอุณหภูมิอากาศในห้องเฉลี่ยสูงสุดประมาณ
4.28 องศาเซลเซียส และพบว่าในกรณีปรับอากาศตลอดเวลาและไม่ปรับอากาศอิทธิพล
ของการแผ่รังสีดวงอาทิตย์โดยตรงและค่าการดูดซับความร้อนของผิวผนังที่แตกต่างกัน
จะส่งผลต่ออุณหภูมิอากาศภายในเซลทดสอบของผนังที่เป็นวัสดุก่อทั้งหมด
แต่สำหรับ
ผนังที่มีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนภายนอกซึ่งมีค่าการต้านทานความร้อนสูงพบว่า
อิทธิพลดังกล่าวส่งผลต่ออุณหภูมิผิวภายในน้อยมากทั้งสองกรณี ผลการวิจัยสามารถสรุป
ได้ว่า ผนังที่เหมาะสมสำหรับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นนั้นควรมีการผสมผสานระหว่างมวล
สารของผนังและฉนวนป้องกันความร้อน สำหรับอาคารไม่ปรับอากาศนั้นผนังที่ใช้วัสดุ
ก่อควรที่จะมีมวลสารในระดับหนึ่งเพื่อช่วยดูดซับและหน่วงเหนี่ยวความร้อนในเวลา
กลางวันและถ่ายเทกลับสู่ท้องฟ้าในเวลากลางคืนสำหรับอาคารปรับอากาศผนังควรที่จะ
มีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ผิวภายนอกเพื่อช่วยสกัดกั้นความร้อนจากอิทธิพลต่างๆ
ภายนอกและผิวผนังภายในมีมวลสารน้อยเพื่อลดภาระในการทำความเย็นในช่วงเปิด
เครื่องปรับอากาศ ผนังควรที่จะเป็นสีอ่อนและมีการบังเงาให้กับผนังเพื่อลดความรุนแรง
จากอิทธิพลของรังสีดวงอาทิตย์
(พ.ศ.2543 ,
ปีการศึกษา 2542)
ชื่อเรื่อง
ผลกระทบของรูปทรงและคุณสมบัติการสะท้อนของแสงธรรมชาติในเอเทรียม
Effects of Shape Variations and Internal
Reflective Properties of Daylighting
Upon Atrium Illumination in
Hot - Humid Climate.
ชื่อผู้แต่ง
นางสาว พัทธวดี รุ่งโรจน์ดี (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
ศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. อาจารย์ ดร. วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ กรรมการ
3. อาจารย์ พิรัส พัชรเศวต กรรมการ
4.อาจารย์ ปราโมทย์ เอี่ยมศิริ กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาผลกระทบของตัวแปรเช่น
ทิศทางของแสง คุณสมบัติการสะท้อนของแสงของพื้น
ที่ผิวภายใน รูปทรง และค่าสัดส่วนทางเรขาคณิตของเอเทรียมเพื่อหาข้อสรุปในการออก
แบบเอเทรียม ได้อย่างถูกต้องตามเทคนิคทางกายภาพต่างๆอย่างเป็นระบบ
(พ.ศ.2543 ,
ปีการศึกษา 2542)
ชื่อเรื่อง
การนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคารโดยใช้ระบบท่อนำแสง
The Utilization of Natural Lighting through
Light Pipe System.
ชื่อผู้แต่ง
นาย รัฐพล สุญเจริญ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. ศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. อาจารย์ ดร. วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ กรรมการ
3. อาจารย์ พิรัส พัชรเศวต กรรมการ
4.อาจารย์ ปราโมทย์ เอี่ยมศิริ กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาและนำเสนอเทคนิคการนำแสงธรรมชาติมาใช้ในส่วนที่ระดับความส่องสว่างไม่
เพียงพอต่อการใช้งานพื้นฐานโดยใช้ระบบท่อนำแสงโดยพิจารณาถึงศักยภาพของการ
รวมแสง
อัตราส่วนระหว่างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อต่อความยาวของท่อนำแสง
อัตราส่วนระหว่างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อต่อรัศมีโค้งข้อเชื่อมต่อ
มุมแลทิศทาง
การสะท้อนของแสง
โดยข้อมูลทั้งหมดนำมาใช้ประกอบการออกแบบและวิจัยในสภาพ
ภูมิอากาศเขตร้อนชื้นต่อไป
(พ.ศ.2543 ,
ปีการศึกษา 2542)
ชื่อเรื่อง
การลดค่าการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังไม่รับน้ำหนักชนิดเบาของสำนักงานอาคารสูง
Heat Gain Reduction Through Curtain Wall
of Highrise Office Building.
ชื่อผู้แต่ง
นางสาว กอบกุล วิวิธมงคลไชย (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
3. อาจารย์ ดร. วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ กรรมการ
4. คุณ พงศ์พัฒน์ มั่งคั่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัตถุประสงค์
ศึกษาและเสนอแนวทางการปรับปรุงระบบผนังไม่รับน้ำหนักชนิดเบาซึ่งนิยมใช้กับ
อาคารสูงเพื่อลดค่าการถ่ายเทความร้อน มีความเหมาะสมในเชิงเทคนิคและเชิง
เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นสำหรับปรับปรุงอาคารเก่าและเป็นแนวทางในการออกแบบ
สำหรับอาคารใหม่ในอนาคต
(พ.ศ.2543 ,
ปีการศึกษา 2542)
ชื่อเรื่อง
กลยุทธการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารสำนักงานราชการ
: กรณี
ศึกษาอาคารกองวิทยาการ กรมช่างโยธาทหารอากาศ ดอนเมือง
Energy Efficient Strategies for Government
Office Building : A Case Study
of Technical Division The Directorate of Civil Engineering Donmuang.
ชื่อผู้แต่ง
ร้อยเอกหญิง ปริมลาภ วสุวัต (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ธนิต จินดาวณิค อาจารย์ที่ปรึกษา
2. อาจารย์ พิรัส พัชรเศวต กรรมการ
3. มล.ดร. ปิยนุช เตาลานนท์ กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาเพื่อแสวงหากลยุทธ์การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม
ในเชิงเทคนิค และเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นสำหรับอาคารสำนักงานราชการขนาด
2460
ตารางเมตรอาคารกรณีศึกษาได้ถูกสำรวจ ประเมินและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้าน
อุณหภูมิและการใช้พลังงานในอาคารแบบจำลองสภาพการใช้พลังงานด้วยโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ นำมาใช้เป็นตัวแทนอาคารกรณีศึกษาเพื่อประเมินผลการใช้พลังงานใน
อาคารเพื่อทำการปรับปรุงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารแต่ละวิธี
(พ.ศ.2542 ,
ปีการศึกษา 2541)
ชื่อเรื่อง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อคาดการณ์ปริมาณแสงธรรมชาติ โดยใช้
ข้อมูลสภาพท้องฟ้าในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
Computer Program For Daylight Prediction
Using Tropical Sky Data
ชื่อผู้แต่ง นาย เชษฐา พลายชุม (สาขาวิชาสถาปัตยกรรม)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. ศาสตราจารย์ ดร.วิมลสิทธิ์ หรยางกูร อ.ปรึกษา
2. อาจารย์ ดร. ปรีชญา สิทธิพันธ์ กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาแนวทางการใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจากงานสถาปัตยกรรม
สมัยใหม่ที่สื่อถึงลักษณะไทยเพื่อกำหนดทิศทางการศึกษาจากงานสถาปัตยกรรมตัว
อย่างที่เลือกศึกษา
ศึกษารูปแบบงานสถาปัตยกรรมไทยในอดีตเพื่อพิจารณาตัวแปรด้านวัสดุก่อสร้างและ
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่แสดงถึงลักษณะไทยและเป็นแนวทางในการสร้างภาพจำลอง
ศึกษาหาค่าความเป็นลักษณะไทยและค่าความเหมาะสม
จากการ
ใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่แสดงออกถึงลักษณะ
ไทย ในรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่โดยเปรียบเทียบ
ลักษณะที่ปรากฏในภาพ
ระหว่างภาพจริงกับภาพจำลอง
ศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ลักษณะไทยและการยอมรับลักษณะ
ไทยจากการใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องระหว่างกลุ่ม
สถาปนิกกับกลุ่มบุคคลทั่วไป
ลักษณะความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนารูปแบบ
สถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่
จากการประยุกต์ใช้วัสดุก่อสร้างและ
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
(พ.ศ.2542 ,
ปีการศึกษา 2541)
ชื่อเรื่อง
การปรับปรุงหลังคาเพื่อลดปริมาณการถ่ายเทความร้อน
The Reduction of Condensation on Insulation
in Wall System.
ชื่อผู้แต่ง
นาย อวิรุทธิ์ ศรีสุธาพรรณ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ เดชา บุญค้ำ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. อาจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ตัวแปรต่างๆ
ที่มีผลต่อพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนผ่านเข้า
สู่ตัวอาคารเพื่อนำตัวแปรที่ได้วิเคราะห์มาใช้ในการปรับปรุงหลังคาเพื่อลดการถ่ายเท
ความร้อนจากหลังคาเพื่อใช้พื้นที่ใช้งานใต้หลังคาเย็นที่สุด
(พ.ศ.2542 ,
ปีการศึกษา 2541)
ชื่อเรื่อง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อคาดการณ์ปริมาณแสงธรรมชาติโดยใช้ข้อมูลสภาพ
ท้องฟ้าในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
Computer Program for Daylight Prediction
Using Tropical Sky Data.
ชื่อผู้แต่ง
นาย กมล เกียรติเรืองกมล (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. อาจารย์ พิรัส เหล่าไพศาลศักดิ์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. นาย เกษม สิริรัตน์วงศ์ กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาปริมาณความสว่างของแสงธรรมชาติในระนาบนอน
(Horizontal Illumination)
และระนาบตั้ง( Vertical Illumination )
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความสว่างของธรรมชาติที่ผ่านช่องเปิดเข้ามาสู่
ภายในอาคารที่พอเพียงในระยะความลึกต่างๆ
พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ง่ายต่อการใช้งานเพื่อคาดการณ์ปริมาณแสงธรรมชาติ
ที่ผ่านช่องเปิดเข้าสู่อาคาร
(พ.ศ.2542 ,
ปีการศึกษา 2541)
ชื่อเรื่อง
การป้องกันการเกิดการควบแน่นของฉนวนใยแก้วในระบบผนังอาคาร
The Prevention of Condensation on Insulation
in Wall System.
ชื่อผู้แต่ง
เรือโทหญิง จันทร์รุ่ง มนต์วิเศษ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. อาจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. นาย ปราโมทย์ เอี่ยมศิริ กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการซึมผ่านของความชื้นผ่านผนังอาคาร
เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเกิดการควบแน่นของฉนวนภายในผนังอาคาร
เพื่อวิเคราะห์การเกิดการควบแน่นในผนังอาคาร
เพื่อหาแนวทางหลีกเลี่ยงควบคุมป้องกันการเกิดการควบแน่นของฉนวนผนังอาคาร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกันความร้อนของฉนวนให้แก่อาคาร
(พ.ศ.2542 ,
ปีการศึกษา 2541)
ชื่อเรื่อง
แนวทางการเพิ่มการนำความร้อนออกที่ชั้นอากาศร้อนสูงสุด
The Promotion of Conduction Heat Loss Through
Maximum Stratification.
ชื่อผู้แต่ง
นางสาว สุภาวดี บุญถนอม (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. นาย ปราโมทย์ เอี่ยมศิริ กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาพฤติกรรมชั้นอากาศร้อนภายในสภาวะที่ไม่มีการถ่ายเทอากาศ
ศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนออกจากอาคารโดยที่ระดับชั้น
อากาศร้อนสูงสุด ซึ่งอุณหภูมิภายในมากกว่าภายนอกโดยอาศัยทฤษฎีนำความร้อน
(พ.ศ.2542
, ปีการศึกษา 2541)
ชื่อเรื่อง
การศึกษาอิทธิพลของฝุ่นต่อประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์
ในทิศทางและระนาบต่างๆกัน
A Study of Dust Affect to the Efficiency
of Solar Cell in Difference
Directions and Plane.
ชื่อผู้แต่ง นาย
สิทธิพงษ์ เพิ่มพิทักษ์ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. อาจารย์ พิรัส เหล่าไพศาลศักดิ์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. นาย บัณฑูร เวียงมูล กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาอิทธิพลของฝุ่นต่อประสิทธิภาพของเซลแสงอาทิตย์ในรูปของกระแสไฟฟ้า
แรงดันไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้าที่เซลล์จ่ายให้ระบบ
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลจากทิศทางและการวางตัวของระนาบในลักษณะต่างๆ
ต่อการก่อตัวของฝุ่นบริเวณผิวหน้าเซลล์แสงอาทิตย์ในรูปของกระแสไฟฟ้าแรงดันไฟฟ้า
และพลังงานไฟฟ้าที่เซลล์จ่ายให้ระบบ
กำหนดทิศทางและการวางตัวของระนาบที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งแผงเซลล์แสงอา
ทิตย์เพื่อให้แผงเซลล์สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพในระยะยาว
(พ.ศ.2542 ,
ปีการศึกษา 2541)
ชื่อเรื่อง
การใช้สวนหลังคาเพื่อลดการถ่ายเทความร้อน
The Reduction of Heat Gain From Transparent
Roof by Passive Method.
ชื่อผู้แต่ง
นาย ศุภกิจ ยิ้มสรวล (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. รองศาตราจารย์ เดชา บุญค้ำ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. อาจารย์ พรรณชลัท สุรโยธิน กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการลดความร้อนผ่านหลังคาโปร่งใสภายในอาคาร
เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดความร้อนของตัวแปรแต่ละชนิดรวมทั้งผสมผสาน
การแก้ปัญหาโดยใช้ตัวแปรเหล่านี้เพื่อให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
วิเคราะห์ประเมินผลอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลกระทบต่อการลดความร้อนภายในหลังคา
โปร่งใส
สรุปการแก้ไขเพื่อใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้วัสดุประกอบอาคารในลักษณะดัง
กล่าวให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมในการใช้การออกแบบอาคารจริง
ศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิผิวด้านล่างหลังคาอาคารได้แก่
อิทธิพลจากดิน
สภาพความชื้นภายในดิน สภาพผิวดินสภาพแวดล้อมเหนือดินและอิทธิพลจากการแผ่
รังสีดวงอาทิตย์
- ศึกษาแนวทางในการใช้สวนบนหลังคา เพื่อลดการถ่ายเทความร้อนโดยทำให้ผิว
ด้านล่างหลังคาอาคารมีอุณหภูมิต่ำที่สุด
- เสนอแนวทางในการทำให้ผิวด้านล่างหลังคาอาคารมีอุณหภูมิต่ำที่สุดและแนวทาง
ในการใช้สวนบนหลังคาเพื่อลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคารทางหลังคาดาดฟ้า
อาคารเพื่อการประหยัดพลังงานและก่อให้เกิดสภาวะน่าสบายแก่ผู้ใช้อาคาร
(พ.ศ.2542 ,
ปีการศึกษา 2541)
ชื่อเรื่อง
การลดความร้อนผ่านทางหลังคาโปร่งใสโดยวิธีการธรรมชาติ
The Reduction of Heat Gain From Transparent
Roof by Passive Method.
ชื่อผู้แต่ง
นาย รัชต ชมภูนิช (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. อาจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน กรรมการ
3. อาจารย์ พิรัส เหล่าไพศาลศักดิ์ กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการลดความร้อนผ่านหลังคาโปร่งใสภายในอาคาร
เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดความร้อนของตัวแปรแต่ละชนิดรวมทั้งผสมผสาน
การแก้ปัญหาโดยใช้ตัวแปรเหล่านี้เพื่อให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
วิเคราะห์ประเมินผลอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลกระทบต่อการลดความร้อนภายในหลังคา
โปร่งใส
สรุปการแก้ไขเพื่อใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้วัสดุประกอบอาคารในลักษณะดัง
กล่าวให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมในการใช้การออกแบบอาคารจริง
(พ.ศ.2542
, ปีการศึกษา 2541)
ชื่อเรื่อง
ผลของการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคารผ่านทางช่องแสงด้านข้าง
ที่ไม่ได้รับแสงแดดโดยตรงโดยการหมุนหลบ
The Effect of Diffuse Radiation of Heat Transmission
Through
Revolving Side-Glazing.
ชื่อผู้แต่ง
นางสาว
พรรณจิรา ทิศาวิภาต (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. อาจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาหาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการลดอุณหภูมิภายในอาคาร
ค้นหาแนวทางในการทำให้สภาพแวดล้อมภายในอาคารอยู่ในสภาวะน่าสบายหรือเข้า
ใกล้สภาวะน่าสบายให้มากที่สุด
เสนอแนวทางการเปิดช่องแสงด้านข้างที่สามารถลอการภ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคาร
สำหรับประยุกต์ใช้งานกับอาคารจริง
(พ.ศ.2542 ,
ปีการศึกษา 2541)
ชื่อเรื่อง
การใช้ต้นไม้ยืนต้นในการปรับแต่งสภาพแวดล้อมเพื่อลดการใช้พลังงานภายในอาคาร
The Use of Trees for Environmental Improvement
to Reduce Energy
Conservation in Building.
ชื่อผู้แต่ง
นางสาว กาญจนา สิริภัทรวณิช (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. อาจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน กรรมการ
3. อาจารย์ พิรัส เหล่าไพศาลศักดิ์ กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาคุณสมบัติของเงาและพุ่มในอันเป็นตัวแปรที่สำคัญของต้นไม้ยืนต้นซึ่งส่งผล
ต่อการเกิดพลังงานความร้อนภายในใต้ร่มเงาและปริมาณความร้อนที่เข้าสู่อาคาร
เพื่อศึกษาและแบ่งประเภทต้นไม้ยืนต้นตามลักษณะการเกิดพลังงานความร้อนภายใต้
ร่มเงาเพื่อสามารถนำไปใช้ในการคัดเลือกใช้บังเงาให้แก่อาคาร
เพื่อวิเคราะห์และประเมินผล
การลดความร้อนให้แก่ผนังก่ออิฐ ฉาบปูนอันส่งผลมาจาก
การบังเงาของต้นไม้อีกต้น
(พ.ศ.2541 ,
ปีการศึกษา 2540)
ชื่อเรื่อง
แนวทางการทำแบบประเมินค่าการประหยัดพลังงานในอาคารพักอาศัย
An Approach to Energy Conservation Evaluation Index in Residential
Building.
ชื่อผู้แต่ง นางสาว
อุษณีย์ มิ่งวิมล (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. ศาสตราจารย์ ดร. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร กรรมการ
3. นาย ปราโมทย์ เอี่ยมศิริ กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาถึงชนิดของตัวแปรและอิทธิพลของตัวแปรนั้นๆที่มี่ต่อการใช้พลังงานใน
อาคารพักอาศัยแต่ละกลุ่มที่จำแนกตามรูปแบบของการใช้พลังงาน
ทำการทดสอบเพื่อหาข้อสรุป ข้อดี ข้อด้อยต่างๆของแบบประเมินค่าการประหยัด
พลังงานในอาคารพักอาศัย
(พ.ศ.2541 ,
ปีการศึกษา 2540)
ชื่อเรื่อง
พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนผ่านวัสดุมุงหลังตาพักอาศัยในเขตร้อนชื้น
The Behaviors of Heat Transfer through Resident's
Roof in Hot Humid Climate.
ชื่อผู้แต่ง
นางสาว
จุไรพร ตุมสุพรรณ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนิต จินดาวณิค อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. อาจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาถึงพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนผ่านวัสดุมุงหลังคาบ้านพักอาศัยในอดีตและ
วัสดุมุงหลังคาบ้านพักอาศัยในปัจจุบัน
ศึกษาถึงพฤติกรรมของการถ่ายเทความร้อนผ่านมุมเอียงของหลังคาที่ต่างกัน
ศึกษาถึงตำแหน่งการเลือกใช้ฉนวนป้องกันรังสีความร้อนการใช้วิธีธรรมชาติในการลด
ความร้อนจากช่องว่างภายในหลังคา
(พ.ศ.2541 ,
ปีการศึกษา 2540)
ชื่อเรื่อง
การใช้น้ำเพื่อลดอุณหภูมิหลังคากระจก
The Reduction of Glazing Roof Temperature
by Water Spraying.
ชื่อผู้แต่ง
นาย
วชิระ กาญจนสุต (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. อาจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิวของหลังคากระจกที่มีคุณสม
บัติต่างกัน
เพื่อศึกษาผลของการใช้น้ำเพื่อลดอุณหภูมิผิวที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิว
ของหลังคากระจกในสภาวะที่ไม่มีการปรับอากาศภายในห้อง
เพื่อศึกษาผลของการใช้น้ำเพื่อลดอุณหภูมิผิวที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของ
หลังคากระจกในสภาวะปรับอากาศควบคุมอุณหภูมิภายในห้อง
(พ.ศ.2541 ,
ปีการศึกษา 2540)
ชื่อเรื่อง
แนวทางการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการวิเคราะห์การใช้พลังงานในอาคารจาก
ข้อมูลที่ใช้ประเมินค่าการถ่ายเทความร้อนจากกรอบอาคาร
The Development of Energy Consumption Analysis
Program From the
Use of OTTV and RTTV Input Data.
ชื่อผู้แต่ง
นาย สุภัทร สราญเลิศ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. อาจารย์ พิรัส เหล่าไพศาสศักดิ์ กรรมการ
วัตถุประสงค์
แสวงหาแนวทางในการปรับปรุงโปรแกรมคำนวณค่า
OTTV / RTTV ให้มีรูปแบบที่
สะดวกในการใช้งานของผู้ออกแบบ
แสวงหาแนวทางที่ช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมที่มีประสพการณ์น้อยทางด้านพลังงานสามารถ
ตัดสินใจในการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานได้โดยสะดวกมากขึ้นกว่าเดิมโดยใช้
วิธีการเปรียบเทียบการใช้พลังงานในอาคารของการออกแบบอาคารในแนวทางต่างๆ
(พ.ศ.2541 ,
ปีการศึกษา 2540)
ชื่อเรื่อง
การใช้แสงธรรมชาติเสริมเพื่อลดพลังงานในอาคาร
: กรณีศึกษา
อาคารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
The Reduction of Energy Consumption in Buildings
by Utilization use of
Natural
Light : A Case Study of A Building at Chulalongkorn University.
ชื่อผู้แต่ง
นาย คมกฤช ชูเกียรติมั่น (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนิต จินดาวณิค อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. อาจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาและพิจารณาข้อดี
ข้อเสียของพื้นที่ใช้สอยของอาคารเดิมในส่วนการนำประโยชน์
จากแสงธรรมชาติมาใช้ในการจัดพื้นที่ใช้สอยภายใน และศึกษาถึงการลดการใช้พลัง
งานในส่วนของไฟฟ้าแสงสว่างโดยพิจารณาการใช้ประโยชน์จากแสงสว่างธรรมชาติที่
ส่องผ่านเข้ามายังพื้นที่ภายในอาคารเพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำหนดตำแหน่งดวงโคม
ศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุง ระยะเวลาการทำการปรับปรุง ตลอดจนเปรียบ
เทียบและวิเคราะห์ความคุ้มทุนโดยอาศัยการวิเคราะห์ทางหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
(พ.ศ.2541 ,
ปีการศึกษา 2540)
ชื่อเรื่อง
ผลกระทบของสีผนังและมวลสารภายในต่อการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคาร
The Effects of Color and Internal Mass on
Heat Transmission Through
Building Wall.
ชื่อผู้แต่ง นาย สวัสดิ์ พิริยะศรัทธา (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. อาจารย์ พิรัส เหล่าไพศาลศักดิ์ กรรมการ
3. อาจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสีเพื่อศึกษาตัวแปรต่างๆที่มีผลต่อพฤติ
กรรมการถ่ายเทความร้อนของผนังเพื่อกำหนดอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบและตัวแปร
ในการทดสอบผ่านการทำหุ่นจำลอง
(พ.ศ.2541 ,
ปีการศึกษา 2540)
ชื่อเรื่อง
ผลกระทบของวัสดุตกแต่งภายในต่อการสะสมความร้อนภายในอาคาร
The Effect of Interior Finishing Materials
on Heat Storage in Building.
ชื่อผู้แต่ง
นาย วีรศักดิ์ ดลศิลป์ชัย (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. อาจารย์ พิรัส เหล่าไพศาลศักดิ์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. อาจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาลักษณะทั่วไปของวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งภายในตามประเภทของการใช้งานจริง
ศึกษาวัสดุตกแต่งภายในตัวอย่าง และประเภทโดยการทดลอง
ศึกษาพฤติกรรมของวัสดุตกแต่งภายในชนิดต่างๆ เพื่อช่วยประหยัดพลังงานภายใน
อาคารและหาแนวทางแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสภาวะปัจจุบัน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
(พ.ศ.2541 ,
ปีการศึกษา 2540)
ชื่อเรื่อง
แนวทางการทำดัชนีเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สำหรับอาคารประเภทโรงแรม
An Approach to Formulate Building Index Hotel.
ชื่อผู้แต่ง
นางสาว
อามาล ภักดีธรรม (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. ศาสตราจารย์ ดร. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร กรรมการ
3. นาย ปราโมทย์ เอี่ยมศิริ กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาและรวบรวมข้อมูลสิ่งแวดล้อมประเภทต่างๆ
พิจารณาระดับผลกระทบต่อสิ่งแวด
ล้อมและศึกษากระบวนการออกแบบอาคาร ตามตัวแปรหลักได้แก่การใช้สภาพแวดล้อม
ให้เป็นประโยชน์ การเลือกตำแหน่งและทิศทางของอาคาร การเลือกรูปทรงของอาคาร
การเลือกระบบเปลือกอาคาร การเลือกวัสดุประกอบอาคาร การเลือกระบบปรับอากาศ
ภายในอาคาร และการเลือกระบบจัดเก็บขยะเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำดัชนีประเมิน
ผลอาคารประเภทโรงแรมต่อไป
(พ.ศ.2541 ,
ปีการศึกษา 2540)
ชื่อเรื่อง
การปรับปรุงเปลือกอาคารเพื่ออนุรักษ์พลังงาน
: กรณีศึกษา
อาคารสำนักงานพหลโยธินธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ชื่อผู้แต่ง
นาย
กรินทร์ ภู่นวล (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. อาจารย์ พิรัส เหล่าไพศาลศักดิ์ กรรมการ
3. อาจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์พลังงานด้วยการปรับปรุงระบบเปลือกอาคารโดยพิจารณา
ทั้งในด้านความสามารถในการลดภาระการปรับอาคารและความเป็นไปได้ในการลงทุน
(พ.ศ.2541
, ปีการศึกษา 2540)
ชื่อเรื่อง
การปรับปรุงหลังคาเพื่อลดปริมาณการถ่ายเทความร้อน
The Reduction of Condensatlon on lnsulatlon
in Wall System
ชื่อผู้แต่ง
นาย
อวิรุทธิ์ ศรีสุธาพรรณ (สาขาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
ดร.สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ เดชา บุญค้ำ ที่ปรึกษาร่วม
3. อาจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ตัวแปรต่าง
ๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนผ่าน
เข้าสู่อาคาร
เพื่อนำตัวแปรที่ได้วิเคราะห์มาใช้ในการปรับปรุงหลังคาเพื่อลดการ
ถ่ายเทความร้อน
จากหลังคาเพื่อใช้พื้นที่ใช้งานใต้หลังคาเย็นทีสุด
(พ.ศ.2540 ,
ปีการศึกษา 2539)
ชื่อเรื่อง
อิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีผลต่ออุณหภูมิบริเวณอาคาร
The Effects on Natural Site Element to Air
Temperature around Building.
ชื่อผู้แต่ง
นาย
วิชัย อิทธิวิศวกุล (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ เดชา บุญค้ำ กรรมการ
3. อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศในบริเวณที่
มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติแตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นการศึกษาตัวแปรทางธรรมชาติ
เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิดินและน้ำในบริ
เวณที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติแตกต่างกันในระดับความลึกและความสูงที่แตก
ต่างกัน
เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงขนาดพุ่มใบของต้นไม้ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
อากาศภายในตัวอาคาร
(พ.ศ.2540 ,
ปีการศึกษา 2539)
ชื่อเรื่อง
การปรับปรุงระบบหลังคาเพื่อลดภาระการทำความเย็น
: กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Roof system Improvement to reduce Cooling Load
: A Case Study of Chulalongkorn University Building.
ชื่อผู้แต่ง
นาย โชติวิทย์ พงษ์เสริมผล (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
4. อาจารย์ พิรัส เหล่าไพศาสศักดิ์ กรรมการ
วัตถุประสงค์
ตัวแปรต่างๆที่มีผลต่อการถ่ายเทความร้อนทางหลังคาเข้าสู่ตัวอาคารพร้อมทั้งประสิทธิ
ภาพในการป้องกันความร้อนให้แก่อาคาร การเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน และการระ
บายความร้อนภายในหลังคาแล้วจึงมาวิเคราะห์เพื่อหาคุณสมบัติในการอ้งกันความร้อน
ที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมในการใช้งานมากที่สุด
(พ.ศ.2540 ,
ปีการศึกษา 2539)
ชื่อเรื่อง
รูปแบบของอุปกรณ์บังแดดที่เหมาะสมสำหรับห้องเรียน
: การให้แสงสว่างธรรมชาติและลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ภายในตัวอาคาร
The Appropriate Shading Devices for Classroom
: Daylight Utilization and Heat Gain Reduction
ชื่อผู้แต่ง
นางสาว กนกวรรณ อุสันโน (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. อาจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้สามารถออกแบบอุปกรณ์บังแดดสำหรับช่องเปิดมาตรฐานของอาคารเรียนให้มี
ประสิทธิภาพสูงสุดในการนำแสงธรรมชาติมาใช้ให้ความสว่างแก่อาคารเพื่อสามารถ
ออกแบบอุปกรณ์บังแดดสำหรับอาคารเรียนที่ก่อให้เกิดการใช้พลังงานภายในอาคารได้
อย่างเกิดประโยชน์สูงสุเพื่อให้สามารถประมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า จุดคุ้มทุน
สำหรับ
อาคารเรียนที่มีการนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ให้ความสว่างแก่อาคาร
(พ.ศ.2540 ,
ปีการศึกษา 2539)
ชื่อเรื่อง
การจัดการใช้พื้นที่ภายในอาคารเพื่อลดภาระการทำความเย็น
: กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Space Utilization Management for Cooling
Load Sharing
: A Case Study of Chulalongkorn University Buildings.
ชื่อผู้แต่ง นาย กรุง กุลชาติ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. อาจารย์ พิรัส เหล่าไพศาสศักดิ์ กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาถึงปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อภาระการทำความเย็นของอาคารเพื่อหาแนวทางใน
การลดการใช้พลังงาน และ ขนาดของระบบปรับอากาศโดยรวม
(พ.ศ.2540 ,
ปีการศึกษา 2539)
ชื่อเรื่อง
การปรับปรุงอาคารเพื่อลดการถ่ายเทความร้อน
: กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Building Envelope Retrofit to Reduce Heat
Transmission
:
A Case Study of Chulalongkorn University Buildings.
ชื่อผู้แต่ง
นาย สิทธิชัย วุฒิวรวงศ์ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ กรรมการ
วัตถุประสงค์
ประเมินความเหมาะสมในการปรับปรุงผนังทึบแสงของอาคารเดิม
ให้มีการถ่ายเท
ความร้อนลดลงด้วยการนำฉนวนกันความร้อนมาใช้
วิเคราะห์เปรียบเทียบราคาวัสดุที่เป็นฉนวนในแบบต่างๆที่ใช้กับผนังกับช่วงเวลาคืนทุน
เพื่อพิจารณาดูความเหมาะสมสำหรับการลงทุน
(พ.ศ.2539 ,
ปีการศึกษา 2538)
ชื่อเรื่อง
อิทธิพลของค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของกระจกต่อการส่งผ่านความร้อนเข้าสู่อาคาร
The influence of Shading Coefficient of Glass
on
Heat Transmission into
Buildings.
ชื่อผู้แต่ง
นาย เกษียร ธรานนท์ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ กรรมการ
3. อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการส่งผ่านความร้อนของกระจกในสภาวะอากาศปกติ
ได้รับอิทธิพลจากกระแสลมแสงแดดและการแรกเปลี่ยนความร้อนกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
ตามความเป็นจริง
ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการส่งผ่านความร้อนของกระจกในห้องปรับอากาศที่ควบ
คุมอุณหภูมิภายในให้คงที่
เปรียบเทียบกระจกสองชั้น ที่เว้นช่องอากาศตรงกลางโดยกำหนดให้ค่า SC ของกระจก
ชั้นเดียว และกระจกด้านนอกของกระจกสองชั้นมีค่าเท่ากัน
(พ.ศ.2539 ,
ปีการศึกษา 2538)
ชื่อเรื่อง
ปัจจัยที่มีผลต่ออุณหภูมิผิวของผนังอาคาร
Effects Affecting External Wall Surface Temperature.
ชื่อผู้แต่ง
นาย วันเอก กิจสมใจ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ เดชา บุญค้ำ กรรมการ
3. อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
วัตถุประสงค์
ผลของความหยาบของพื้นผิวที่มีต่ออุณหภูมิผิวภายนอกของผนัง
ของวัสดุที่มีมวลสาร
เท่ากัน ขนาดพื้นที่เท่ากัน ค่าการกระจายความร้อนเท่ากัน แต่มีพื้นผิวต่างกัน
ความ
เข้มของสีผิววัสดุต่างกัน
(พ.ศ.2539 ,
ปีการศึกษา 2538)
ชื่อเรื่อง
การศึกษาระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเฟอร์โรซีเมนต์สำหรับอาคารที่พักอาศัยแนวราบ
: กรณีศึกษาแบบอาคารที่พักอาศัยแนวราบของการเคหะแห่งชาติ
A Study of Ferrocement Prefabricated System
for Low Rise Housing
: A Case Study of National Housing Authority's Low Rise Housing.
ชื่อผู้แต่ง นาย
สัมภาษณ์ ชนานิยม (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐานิศวร์ เจริญพงศ์ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. นายปรีดิ์ บูรณศิริ ที่ปรึกษาร่วม
3. รองศาสตราจารย์ ดร. ชวลิต นิตยะ กรรมการ
วัตถุประสงค์
ออกแบบระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเฟอร์โรซีเมนต์แทนชิ้นส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง
ศึกษาและออกแบบกรรมวิธีการผลิตและติดตั้งระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเฟอร์โรซีเมนต์
ทดสอบคุณสมบัติของระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเฟอร์โรซีเมนต์
เปรียบเทียบราคาค่าก่อสร้างระหว่างระบบท้องถิ่น กับระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเฟอร์โร
ซีเมนต์
(พ.ศ.2539
, ปีการศึกษา 2538)
ชื่อเรื่อง
การทำความเย็นอาคารโดยการใช้ผิวสัมผัสพื้นดิน
Passive Cooling Earth Contact Surface.
ชื่อผู้แต่ง
นาย อเนก ธีระวิวัฒน์ชัย (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดชา บุญค้ำ กรรมการ
3. รองศาสตราจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
วัตถุประสงค์
อิทธิพลของผิวสัมผัสดินที่เย็นกว่าปกติจะช่วยลดภาระการทำความเย็นให้กับอาคาร
ผู้ใช้อาคารสามารถปรับอุณหภูมิห้องให้สูงกว่าอุณหภูมิน่าสบาย โดยที่ผู้ใช้อาคารยัง
รู้สึกสบายเช่นเดิม เป็นการขยายอุณหภูมิในสภาวะน่าสบาย สูงขึ้นลดค่าความแตกต่าง
ของอุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิภายนอก
(พ.ศ.2538 ,
ปีการศึกษา 2537)
ชื่อเรื่อง
ผลกระทบในการให้แสงโดยการใช้ความจ้าและความเปรียบต่างความเข้มของแสง
เพื่อเน้นวัตถุและความน่าสนใจ : กรณีศึกษาการจัดแสดงประติมากรรมในพิพิธภัณฑ์
The Effect of Lighting by Brightness and
Contrast to Emphasize Object and
Design Intention : A Case Study of Sculpture in Museum Exhibition
ชื่อผู้แต่ง
นาย เฉลิมพงศ์ นัยวัฒน์ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ ดร. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร กรรมการ
3. อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
วัตถุประสงค์
ผลกระทบที่ต่างกันจากคุณสมบัติของความจ้าของวัตถุและฉากหลังที่ต่างกันจากความ
เปรียบต่างความเข้มแสงที่ต่างกัน หาจุดลงตัวที่เหมาะสมในการผสมผสานความจ้าและ
ความเปรียบต่างความเข้มของแสง เพื่อเน้นวัตถุความน่าสนใจแนวทางในการนำมาใช้
ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการจัดแสงในงานจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ หรือประยุกต์ใช้
กับงานอื่นๆ
(พ.ศ.2538
, ปีการศึกษา 2537)
ชื่อเรื่อง
การลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารด้วยระบบผนังที่มีช่องอากาศ
: กรณีศึกษาอาคารในเขตร้อนชื้น
A Reduction of Heat Transmission in Building
by Cavity Wall System
: A Case Study For Hot Humid Climate.
ชื่อผู้แต่ง
นาย ประพันธ์ จงปฏิยัตต์ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐานิศวร์ จริญพงศ์ กรรมการ
3. อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อต้องการหาระบบผนังที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทย
โดยเฉพาะความสามารถ
ในการลดปริมาณความร้อนที่ผ่านเข้าสู่ภายในอาคาร
(พ.ศ.2538
, ปีการศึกษา 2537)
ชื่อเรื่อง
แนวทางการออกแบบโดยใช้แสงธรรมชาติในโรงงานอุตสาหกรรม
Design Guidelines for Daylighting in Factory.
ชื่อผู้แต่ง
นาย มานะ หุตินทะ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. อาจารย์ ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ กรรมการ
วัตถุประสงค์
การออกแบบขนาดช่องเปิดที่มีความเหมาะสมเพื่อให้ได้รับแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายใน
โรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีคุณภาพ คือได้รับแสงที่มีปริมาณความส่องสว่างที่สม่ำเสมอ
และเพียงพอกับการปฏิบัติงานรวมทั้งมีความร้อนเข้ามาน้อย
(พ.ศ.2538 ,
ปีการศึกษา 2537)
ชื่อเรื่อง
ประสิทธิภาพในการใช้ฉนวนสะท้อนรังสี
และทิศทางการถ่ายเทความร้อนสำหรับ
อาคารในภูมิอากาศเขตร้อนชื้น
An Effectiveness of Reflective Insulation
and Direction of Heat Flow for
Building in Hot Humid Climate
ชื่อผู้แต่ง
นาย อนันต์ วัชรพงษ์วินิจ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐานิศวร์ เจริญพงศ์ กรรมการ
วัตถุประสงค์
ศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่อทิศทางการถ่ายเทความร้อน
ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพ
การเป็นฉนวนกันความร้อนของระบบป้องกันรังสีที่ประกอบด้วยอลูมินั่มฟอยล์และช่อง
อากาศ
ศึกษาเชิงประยุกต์เพื่อหาแนวทางในการใช้ฉนวนสะท้อนรังสีในทิศทางการถ่ายเทความ
ร้อนในระนาบนอนผ่านระนาบตั้ง
ศึกษาเปรียบเทียบการป้องกันความร้อนของระบบผนังที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือผนังก่ออิฐ
ฉายปูนเรียบกับระบบผนังที่นำฉนวนสะท้อนรังสีมาใช้ร่วมกับผนังก่ออิฐ
(พ.ศ.2538 ,
ปีการศึกษา 2537)
ชื่อเรื่อง
การศึกษาอุณหภูมิที่ผิววัสดุปูพื้นภายนอกอาคารในเชิงความสัมพันธ์กับมวลสารสี
และพื้นผิววัสดุ
A Study of Surface Temperature in Relation
to The Mass, Color Intensity and
Texture of Outdoor Materials.
ชื่อผู้แต่ง
นางสาว
นิสรา อารุณี (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ ดร. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร กรรมการ
3. อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
วัตถุประสงค์
ผลของมวลสาร
ความเข้มของสี พื้นผิววัสดุที่มีต่ออุณหภูมิที่ผิววัสดุปูนี้ เมื่อมีการถ่ายเท
ความร้อนระหว่างดินกับวัสดุมาเกี่ยวข้อง โดยเปรียบเทียบระหว่างวัสดุที่วางบนดิน
ซึ่งมี
การถ่ายเทความร้อนระหว่างดินกับวัสดุ และวัสดุที่วางเหนือดินซึ่งไม่มีการถ่ายเทความ
ร้อนระหว่างดินกับวัสดุ
(พ.ศ.2537 ,
ปีการศึกษา 2536)
ชื่อเรื่อง
การศึกษาระบบผนังภายนอกอาคารที่มีผลต่อภาระการปรับอากาศ
: กรณีศึกษาสำหรับภูมิอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย
The Investigation of Cooling Load for Exterior
Wall Systems
: A case study of Hot Humid Climate in Thailand.
ชื่อผู้แต่ง
นาย กิตติพงษ์ เพชรวราภา (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ กรรมการ
3. อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
วัตถุประสงค์
เป็นการดำเนินงานเพื่อที่จะหาระบบผนังที่เหมาะสมที่จะใช้ในประเทศไทย
โดยพิจารณาทั้ง
ในด้านความสามารถในการลดภาระการปรับอากาศ และความเป็นไปได้ในการลงทุน
(พ.ศ.2537 ,
ปีการศึกษา 2536)
ชื่อเรื่อง
การลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารทางหลังคา
A Reduction of heat Gain in Buildings through
Roofs
ชื่อผู้แต่ง นางสาว
จญาดา บุณยเกียรติ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. ศาสตราจารย์ ดร. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร กรรมการ
3. รองศาสตราจารย์ ทวี เวชพฤติ กรรมการ
วัตถุประสงค์
การลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารทางหลังคาที่มีความลาดชันนั้นจะต้องศึกษา
รวบรวมก่อนว่ามีปัจจัยใดบ้าง ที่มีผลต่อการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารผ่านทาง
หลังคา
(พ.ศ.2537 ,
ปีการศึกษา 2536).
ชื่อเรื่อง
การศึกษาผลของชั้นความร้อนในโถงที่มีความสูงโดยใช้หุ่นจำลอง
A Study of Stratification in Atrium using
Scale Model Simulation.
ชื่อผู้แต่ง
นาย ไพบูลย์ รักษาสุทธิพันธ์ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ กรรมการ
3. อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อต้องการทราบถึงแนวทางและผลที่เป็นไปได้ในการออกแบบ
Atrium
(พ.ศ.2537
, ปีการศึกษา 2536)
ชื่อเรื่อง
ประสิทธิภาพในการนำแสงธรรมชาติมาใช้ในสำนักงานทั่วไป
An Effectiveness of Daylight Utilization
for Typical Office Space.
ชื่อผู้แต่ง นาย รวิช ควรประเสริฐ (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ กรรมการ
3. อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
วัตถุประสงค์
ประสิทธิภาพของแสงธรรมชาติจากดวงอาทิตย์ที่นำมาใช้ในอาคารวิธีการใช้งานร่วมกัน
ระหว่างแสงธรรมชาติและแสงจากไฟฟ้า เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้ที่ต้องการออกแบบ
อาคาร นำไปใช้ค้นคว้าและประกอบการออกแบบสำหรับอาคารประหยัดพลังงาน
(พ.ศ.2537 ,
ปีการศึกษา 2536)
ชื่อเรื่อง
การทำความเย็นให้อาคารด้วยระบบท่อใต้ดิน
Building Cooling System Through Underground
Tube.
ชื่อผู้แต่ง
นาย สุพจน์ ตวงสินทวีกุล (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ กรรมการ
3. อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการสร้างสภาวะน่าสบายให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและร้อนชื้นอย่างเมืองไทย
และคุ้มค่าต่อเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงการนำประโยชน์จากธรรมชาติมาใช้
(พ.ศ.2537 ,
ปีการศึกษา 2536)
ชื่อเรื่อง
ผลของมวลสารและสีของผนังต่อพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร
An Effect of Mass and Color on Heat Transmission
through Building Wall.
ชื่อผู้แต่ง นางสาวสินีรัตน์ ภัทรธรรมกุล (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
อาจารย์ ธนิต จินดาวณิค อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ สมสิทธิ์ นิตยะ กรรมการ
3. รองศาสตราจารย์ วีระ บูรณากาญจน์ กรรมการ
วัตถุประสงค์
เพื่อการถ่ายเทความร้อนของผนังอาคารที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน
(U
value) เท่ากันแต่มีมวลสารต่างกัน ผลของความเข้ม ความอ่อนของสีที่มีต่อการถ่าย
เทความร้อนของผนังที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนเท่ากัน แต่มีมวลสารต่าง
กัน ผลของความเข้ม ความอ่อนของสีที่มีต่อการถ่ายเทความร้อนของผนังที่มีค่าสัม
ประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนเท่ากัน แต่มีมวลสารลดลง
(พ.ศ.2536 ,
ปีการศึกษา 2535)
ชื่อเรื่อง
ผลกระทบของรูปแบบผนังภายนอกต่อผู้ใช้
: กรณีศึกษาอาคารสำนักงานใหญ่
การบินไทย
The Impacts of Exterior Wall Design on Users
: A Case Study of Thai Airways
International Building.
ชื่อผู้แต่ง
นางสาว อภิรดี ทองอุไทย (สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
1.
ศาสตราจารย์ ดร. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร อาจารย์ที่ปรึกษา
2. รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร บุญญาธิการ กรรมการ
วัตถุประสงค์
เทียบประเด็นต่างๆ
5 ประเด็น คือ การมองเห็นทิวทัศน์ แสงจากภายนอกที่ตกกระทบ
ความสบายเนื่องจากอุณหภูมิ ความรู้สึกโปร่งโล่ง และ ปลอดภัยจากรูปแบบของผนัง
|